เช็คเลย ! 7 สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุเบื่ออาหาร

เช็คเลย ! 7 สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุเบื่ออาหาร
 

1. หิวน้อย กินน้อย

                เมื่ออายุมากขึ้นการอยากอาหารน้อยลงเป็นเรื่องธรรมดา ผู้สูงอายุจึงไม่รู้สึกอยากจะรับประทานอาหาร ซึ่งไม่เหมือนกับคนอายุน้อย และเมื่ออายุมากแล้วระบบต่าง ๆ ของร่างกาย มีการเสื่อมสภาพไป ยิ่งทำให้เบื่ออาหารมากขึ้น


2. รับรสชาติเปลี่ยนไป

                เมื่อผู้สูงอายุมีประสิทธิภาพในการรับรสและดมกลิ่นน้อยลง จะทำให้การรับรู้รสชาติเปลี่ยนไป และผลที่ตามมาคือทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกเบื่ออาหาร


3. เคี้ยวอาหารลำบาก

                ผู้สูงอายุบางรายจะมีปัญหาเกี่ยวกับฟัน เช่น ฟันไม่แข็งแรง ไม่หลุดไปเกือบหมด ทำให้กินไม่อร่อย  ถึงแม้ปัจจุบันจะมีฟันปลอมให้ใช้ แต่ก็ยังไม่สามารถทดแทนได้จริง ๆ เนื่องจากเคี้ยวลำบากไม่ถนัด จึงทำให้มีการอยากอาหารน้อยลง


4.สำลักบ่อย ๆ 

                เมื่อมีอายุที่มากขึ้น ต่อมน้ำลายจะผลิตได้น้อยลง เวลาเคี้ยวและกลืนอาหารจะรู้สึกฝืดคอ จึงทำให้ผู้สูงอายุกลืนอาหารลำบาก และสำลักน้ำหรืออาหารบ่อย ๆ


5. ย่อยอาหารไม่ดี

                การที่ผู้สูงอายุไม่ได้กินข้าวหรือกินน้อยลง จากการเสื่อมสภาพของร่างกาย เช่น เมื่อลำไส้ทำงานไม่เต็มที่จะทำให้รู้สึกอิ่มเร็ว อาจมีการท้องอืด อาหารไม่ย่อย และท้องผูก ส่งผลให้ผู้สูงอายุอยากอาหารน้อยลง

6. กินไม่สะดวกเพราะโรคประจำตัว

                การที่ผู้สูงอายุทำอะไรเองไม่ค่อยได้ และของกินต่าง ๆ หากินเองไม่ได้ ผู้สูงอายุบางรายมีอาการมือสั่นทำให้ตักอาหารกินไม่สะดวก จึงมีความอยากอาหารลดน้อยลง


7. ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้

การที่ผู้สูงอายุร่างกายไม่แข็งแรงเหมือนแต่ก่อน บางอย่างทำไม่ค่อยถนัด ทำให้มีความเครียดสะสม และยิ่งผู้สูงอายุบางรายมีโรคประจำตัว จะทำให้เบื่ออาหารมากขึ้น

 


ปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้น

 


1. ร่างกายอ่อนแอ

                เมื่อผู้สูงอายุมีการรับสารอาหารไม่เพียงพอ ส่งผลให้ร่างกายขาดสารอาหาร ภูมิต้านทานลดน้อยลง ทำให้เกิดเป็นโรคต่าง ๆ ได้ง่าย


2. ขับถ่ายลำบาก

                การที่ผู้สูงอายุเคี้ยวผักและผลไม้ไม่ค่อยได้ ทำให้ผู้สูงอายุบางรายไม่ยอมกินผักและผลไม้ ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการท้องผูก ขับถ่ายลำบาก และเสี่ยงต่อโรคริดสีดวงทวารหนัก


3. น้ำหนักน้อยลง

                หากผู้สูงอายุกินน้อย เป็นเวลานาน ๆ จะทำให้น้ำหนักตัวลดลง ร่างกายซูบผอม ขาดสารอาหาร แขนและขาลีบ ไม่มีแรงที่จะทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้


4. ภาวะโลหิตจาง

                เมื่อผู้สูงอายุกินอาหารได้น้อยลงหรือไม่กินเลย อาจเป็นภาวะโลหิตจางได้เนื่องจากร่างกายรับสารอาหารน้อยลง และได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย


5. กระดูกไม่แข็งแรง

                การที่ผู้สูงอายุมีการขาดสารอาหารมาก ๆ หากเป็นตอนที่ร่างกายเสื่อมสภาพลง ความแข็งแรงของกระดูกก็จะลดลง แม้เกิดอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย เช่น หกล้มหรือสะดุดล้มจะทำให้กระดูกแตกหักได้ง่าย

 


แก้ไขอาการเบื่ออาหารอย่างไรดี



1. กินอาหารที่กลืนง่าย

                ควรให้ผู้สูงอายุกินอาหารที่มีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ และไม่ควรเป็นอาหารที่มีรสจัด มีความอ่อนนุ่ม กลืนง่าย เช่น ซุป เต้าหู้นึ่ง โจ๊ก ข้าวต้ม ปลาต้ม มะละกอสุก แก้วมังกร บางครั้งควรจัดอาหารให้มีการใช้มือบ้าง เช่น ปลาทอดจิ้มน้ำพริกผักต้ม อาจทำให้มีการกินข้าวได้มากขึ้น เนื่องจากผู้สูงอายุบางรายไม่ชื่นชอบในการใช้ช้อนส้อม


2. ทำให้ทานง่ายขึ้น

                เนื่องจากผู้สูงอายุมีฟันที่ไม่แข็งแรงควรมีการดัดแปลงเมนูอาหารที่ทำให้เคี้ยวง่ายมากขึ้น เช่น เนื้อสัตว์ชิ้นใหญ่นำมาบดหรือสับให้ละเอียดแทน หากผู้สูงอายุต้องการกินผักสดให้เปลี่ยนมาเป็นผักต้มแทน ซึ่งจะย่อยง่ายไม่ทำให้ท้องอืด แน่นท้องได้


3. เพิ่มอาหารให้หลากหลาย

                อาหารสำหรับผู้สูงอายุแต่ละมื้อควรเป็นอาหารที่มีความหลากหลาย ไม่จำเจ เช่น ต้ม แกง ผัด ทอด แต่ละมื้ออาหารควรมีซุปหรือแกง ซึ่งจะทำให้ผู้สูงอายุกลืนอาหารได้ง่ายขึ้น และเสริมด้วยน้ำดื่มสมุนไพรต่าง ๆ เช่น น้ำใบ น้ำขิง น้ำมะตูม จะช่วยให้กระตุ้นความอยากอาหาร สามารถดื่มก่อนหรือหลังอาหารได้เช่นกัน


4. ปรุงอาหารให้ถูกใจ

การปรุงอาหารผู้สูงอายุควรเน้นด้วยรสเปรี้ยวอ่อน ๆ เครื่องเทศ สมุนไพรต่าง ๆ เช่น แกงขี้เหล็ก ไก่ผัดขิง แกงป่า จะช่วยกระตุ้นน้ำลาย และความอยากอาหารได้ดี


5. จัดมื้ออาหารให้เหมาะสม

เมื่อผู้สูงอายุมีความอยากอาหารน้อยลงสามารถลองให้เปลี่ยนกินอาหารมื้อเล็ก ๆ แทนการกินอาหารมื้อใหญ่ ๆ  เช่น แบ่งอาหาร 4 – 5 มื้อ / 1 วัน จัดเวลาและของว่างให้ตรงเวลาจะช่วยกระตุ้นการกินอาหารได้ดีทำให้ลำไส้รับรู้เวลาการกิน


6. อย่าลืมกิจกรรมครอบครัวนั้นสำคัญ

การพาผู้สูงอายุออกไปนอกบ้านควรพาไปเที่ยวบางครั้งเมื่อมีโอกาสเพื่อช่วยผ่อนคลายความเครียดลง และควรหากิจกรรมทำร่วมกัน เช่น ทานข้าว ปาร์ตี้ครอบครัว เพื่อที่ผู้สูงอายุจะไม่รู้สึกเหงาที่ต้องกินอาหารคนเดียว อาจทำให้กินอาหารได้เยอะมากขึ้น

 

 

 

บรรณานุกรม

ผู้สูงอายุเบื่ออาหาร ทำอย่างไร?. (2562). ค้นจาก http://https://allwellhealthcare.com/elderly-loss-of-appetite/

ผู้สูงอายุเบื่ออาหาร ทําไงดี (วิธีแก้ไข คนแก่ไม่กินข้าว). (2563). ค้นจาก http://https://www.youtube.com/watch?